วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552

เตรียมตัวอย่างไรเพื่อรับมือกับระบบใหม่แบบGAT PAT


เตรียมตัวอย่างไรเพื่อรับมือกับระบบใหม่แบบGAT PAT


1. ก่อนอื่นเลยใครที่อยู่ม.5และคิดว่าตัวเองยังไม่รู้เรื่องอะไรมากเลยแปล่อยเวลาผ่านล่วงเลยไปวันๆโดยเฉพาะปิดเทอมนี้ ควรที่จะเรียนในส่วนของเนื้อหาที่จะต้องนำไปสอบโอเน็ตของม.6จบไปแล้วทั้ง8กลุ่มสาระ**อย่าลืมเอาแต่วิชาที่ยากๆเพียงอย่างเดียวและอย่าคิดว่าวิชาอื่นจะง่าย ควรใส่ใจกับวิชาอื่นๆด้วยเช่นวิชาภาษาไทยและวิชาอื่น ซึ่งช่วยดึงคะแนนเราขึ้นมาได้เช่นกัน** พอขึ้นม.6ก็ตะลุยข้อสอบเพียงอย่างเดียวเน้นทำโจทย์ ส่วนใครที่อยูม.4ก็มีโอกาสมากๆเลยเพราะยังไหวตัวทันเตรียมรับมือ สิ่งสำคัญคือความขี้เกียจของเราที่จะพาเราล่มจม **รู้จักแบ่งเวาเช่นเลิกจากโรงเรียนกลับมาบ้าน6โมงเย็นทานข้าวเสร็จทำการบ้านอาบน้ำเริ่มอ่านหนังสือ2ทุ่มจนถึง4ทุ่มแล้วนอน หรือใครบางคนเรียนพิเศษหลังเลิกเรียนกลับถึงบ้าน2ทุ่มทานข้าวอาบน้ำทำการบ้านก้อเริ่มอ่านหนังสือ4ทุ่มถึงเที่ยงคืนแล้วนอน อะไรประมาณนี้อ่ะ ** สำหรับปิดเทอมก้ออย่าถเหลถไหลปล่อยปะละเลยจนเกินตัวก็แล้วกันอย่าให้เวลาเดินไปไหนสะดุดก้อนหินแล้วความรู้หายหมดก็แล้วกัน


2. ตอนนี้ระบบใหม่นี้เอาคะแนนGAT PATตั้ง50% นู่น สำหรับข้อสอบGATก็มีให้ซื้อเอามาลองทำกันทั่วๆไปเช่นของRACก็มีขาย ข้อสอบGATก็จะคล้ายๆกับข้อสอบSATซึ่งต้องใช้เชาน์ปัญญาและความนึกคิดหลายๆด้านของเราดูเหมือนว่า ก ข ค ง จะใช่ทุกข้อแต่มีเพียงข้อเดียวที่ถูกที่สุดอะไรประมาณเนี้ย ข้อสอบSATก็มีขายแต่คงหายากหน่อยลองๆเอามาทำดู **อีกอย่างของข้อสอบGATคือข้อสอบจะเน้นความซับซ้อนแต่ไม่เน้นความยากและข้อสอบGATเนี่ยคนที่สอบจะต้องมีความรู้ทางด้านภาษาไทยมากเลยล่ะเพราะเหมือนมันจะชอบเอาภาษาไทยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยโดยเฉพาะข้อสอบด้านเชิงวิเคราะห์กับอ่านวิเคราะห์เนี่ยและอีกอย่างที่จะต้องใช้ก็คือพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษแต่ไม่ใช่อังกฤษธรรมดาต้องเป็นอังกฤษเพิ่มเติม....ส่วนข้อสอบPAT มีหลายด้านแล้วแต่ว่าใครจะสอบเข้าคณะอะไรเค้าจะมีบอกให้ว่าจะต้องใช้คะแนนPATอะไรบ้าง เราก้อสอบPATนี้เช่นอยากสอบคณะวิศวะก็ต้องสอบPAT1พื้นฐานความรู้ทางด้านวิศวะแล้วแต่ว่าเค้าจะเอาPATกี่เปอร์เซ็นGATกี่เปอร์เซ็นแต่สองอันนี้รวมกันเต็ม50% ข้อสอบPATรู้สึกว่าจะหายากนะแต่ไม่รู้ว่ามีขายป่าวแต่ไม่น่าจะจะมี ส่วนมากก้อเป็นของGATที่มีขาย ใครอยากสอบPATอะไรก็มีที่เรียนนะตอนนี้แต่สมัครไม่ทันแล้วเค้าเริ่มเรียนตั้งแต่สมัย....ล่ะ ข้อสอบPATนี่ก้อหาเอาเองแล้วแต่ตามมีตามเกิดเพราะข้อสอบมันเป็นของตรงๆ ก็อย่างที่บอกก็คือจะสอบเข้าคณะวิศวะก้อสอบPATความรู้พื้นฐานวิศวะ อะไรประมาณเนี้ย... หวังว่าคงเป็นปะโยชน์กับท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะ

ที่มา http://www.eduzones.com/

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

ซานตาคลอส


ซานตาคลอส เป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุด ในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้ที่จริงแล้ว ซานตาคลอส แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย


ชื่อซานตาคลอส มาจากชื่อนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือ เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้ เป็นสังฆราชของไมรา (อยู่ในประเทศตุรกี ปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่ง อพยพไปอยู่ในสหรัฐ ก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ คือ ฉลองนักบุญนิโคลาส ในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งหมายถึง นักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้าง เพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราช ซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น อันที่จริง ซานตาคลอสเป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่อาจจะทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาลคริสต์มาสนี้


' บ้านซานตาคลอส
เล่ากันว่าอยู่ที่เมืองโรวาเนียมี ในเขตแลปแลนด์ ทางตอนเหนือของประเทศฟินแลนด์" ที่นั่นเขาไม่เรียก ซานตาคลอส แต่เรียก "คุณพ่อคริสต์มาส" บ้านของท่านอยู่ในปราสาทน้ำแข็งที่สวยงามและเงียบสงบ พร้อมกับเหล่าเอลฟ์หรือภูตจิ๋วที่ขยันขันแข็งช่วยผลิตของขวัญแจกเด็กทั่วโลก เพื่อโปรโมตการท่องเที่ยว ทางการจึงสร้างสำนักงานของซานตาคลอสเป็นอาคารไม้เล็กๆ อยู่ที่ ซานตา เฮ้าส์ เป็นทั้งที่อยู่อาศัย ที่ทำการไปรษณีย์และร้านขายของที่ระลึก
ในแต่ละปีซานตาคลอสในฟินแลนด์จะได้รับจดหมายจากเด็กๆ ทั่วโลกมากกว่า 6 แสนฉบับ เด็กที่เขียนถึงซานต้ามากที่สุดคือเด็กญี่ปุ่น อังกฤษและโปแลนด์ ใครอยากเขียนจดหมายหาซานต้าเขียนไปได้ที่ Santa Claus, Santa Claus Village, FIN-96930 Arctic Circle, Finland หรือส่งอีเมล์ที่ www.EmailSanta.com
ว้า..ใครจะมีโอกาศโชคดีได้ไป..เหมือนอาจารย์เกรียงมั่งน้า ^^

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2552

วันปีใหม่

ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่



ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก


การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์


ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น




กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย